สาระน่ารู้
ข้อดีของการเลือกใช้กล้อง Network Camera เปรียบเทียบกับกล้อง Analog
1. การ Access หรือการเข้าถึงตัวกล้อง
ซึ่งโดยปกติแล้วกล้อง Network Camera นั้นสามารถที่จะทำการเข้าถึงตัวกล้องได้จากทุกๆ ที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนบนโลก เนื่องจากว่าตัวกล้องนั้นสามารถทำงานได้บนพื้นฐานระบบเครือข่าย(Network) ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกล้องเข้ากับระบบ LAN, WAN แล้วก็ Internet ได้ โดยสามารถเรียกดูภาพจากกล้องได้อย่างง่ายดายเพียงแค่เปิดโปรแกรม IE (Internet Explorer) ซึ่งมีอยู่บนเครื่องบนคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไปอยู่แล้ว ซึ่งแตกต่างจากกล้องระบบ Analog โดยสิ้นเชิงเพราะว่าตัวกล้อง Analog นั้นไม่สามารถเข้าถึงตัวกล้องได้โดยตรงไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม
2. Easy to Use การใช้งานค่อนข้างง่าย
เนื่องจากสามารถเรียกดูภาพได้จากโปรแกรม IE ได้อย่างง่ายแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถเข้าไปกำหนดค่าการทำงานต่างๆ ของตัวกล้องได้อีกด้วย
3. Quality หรือคุณภาพของภาพที่ได้
ในระบบกล้อง Network Camera นั้น ผู้ใช้สามารถเข้าไปกำหนด ค่าการใช้งานต่างๆ ผ่านโปรแกรม IE ได้ที่กล้องโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกำหนด Resolution ของภาพ การตั้งค่าการ Compression ของภาพ ซึ่งสามารถที่จะกำหนดคุณภาพของภาพได้ตามความต้องการอีกทั้งรูปแบบของไฟล์ยังเป็นดิจิตอล ทำให้ไม่เกิดปัญหาในเรื่องของระยะทางในการส่งสัญญาณภาพหรือการดึงภาพมาบันทึก ซึ่งต่างจากระบบ Analog ซึ่งบางครั้งการติดตั้งในระยะที่ไกลเกินไปหรือสภาวะแวดล้อมที่มีสัญญาณรบกวนต่างๆ จะทำให้การส่งสัญญาณภาพเกิดปัญหาขึ้นได้
4. System Requirement ความต้องการของระบบ กล้อง Network Camera
นั้นสามารถทำงานได้บนระบบเครือข่ายที่ผู้ใช้มีอยู่ได้เลย เพียงแค่ปลั๊กอุปกรณ์กล้องเข้ากับระบบเครือข่ายก็สามารถใช้งานได้ทั้งแบบเดินสาย หรือไร้สาย (Wireless) และในการบันทึกภาพนั้นก็เพียงแค่ใช้โปรแกรมบันทึกภาพลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป ก็สามารถที่จะดึงภาพจากกล้องมาบันทึกได้ทันที ไม่เหมือนกับระบบ Analog ซึ่งจำเป็นจะต้องวางระบบใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่การเดินสาย รวมถึงจะต้องซื้ออุปกรณ์ที่เรียกว่า DVR (Digital video recorder) เพื่อใช้ในการบันทึกภาพ
5. Installation การติดตั้ง ระบบ Network
นั้นสามารถติดตั้งได้อย่างง่ายดาย หรือสามารถใช้งานร่วมกับระบบเครือข่ายเดิมที่มีอยู่ได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นแบบเดินสาย หรือแบบไร้สาย ซึ่งจะยิ่งทำให้การติดตั้งนั้นง่ายดายมากยิ่งขึ้น ผิดกับ Analog ซึ่งจะต้องเดินสายใหม่ทั้งหมด
6. Cabling สายสัญญาณ ระบบ Network
นั้นจะใช้สายสัญญาณประเภท UTP ซึ่งปัจจุบันมีราคาค่อนข้างถูก อีกทั้งตัวสายยังมีความยืดหยุ่นสูง สามารถที่จะเดินสายติดตั้งได้โดยง่าย และปัจจุบันยังมีเทคโนโลยี Wireless LAN ซึ่งช่วยลดการติดตั้งแบบเดินสายได้อีกด้วย แต่ระบบ Analog นั้นใช้สายสัญญาณประเภท Coax ซึ่งลักษณะของสายขนาดใหญ่และค่อนข้างแข็ง ทำให้การติดตั้งค่อนข้างกระทำได้ยาก เนื่องจากจะต้องเดินสายจากกล้องทุกตัวมาเข้ากับเครื่องบันทึกภาพ (DVR)
7. Scalability การขยายระบบ ระบบกล้อง Network Camera
นั้นสามารถเพิ่มกล้องเข้าสู่ระบบได้โดยง่าย เพียงแค่ปลั๊กกล้องเข้ากับระบบเครือข่ายก็สามารถใช้งานได้ พร้อมทั้งสามารถเพิ่ม ลกหรือย้ายจุดติดตั้งได้อย่างง่ายได้ โดยหากใช้เป็นระบบ Wireless จะยิ่งเพิ่มความสะดวกมากขึ้น ผิดกับระบบ Analog
ซึ่งแต่ละกล้องจำเป็นจะต้องเดินสายใหม่ทั้งหมด ทำให้ในการเพิ่มจำนวนกล้องหรือย้ายจุดติดตั้งนั้นทำให้ได้โดยลำบาก ซึ่งหากระยะไกลเกินไปก็อาจจะทำให้สัญญาณภาพเกิดปัญหาขึ้นได้อีก
ซึ่งแต่ละกล้องจำเป็นจะต้องเดินสายใหม่ทั้งหมด ทำให้ในการเพิ่มจำนวนกล้องหรือย้ายจุดติดตั้งนั้นทำให้ได้โดยลำบาก ซึ่งหากระยะไกลเกินไปก็อาจจะทำให้สัญญาณภาพเกิดปัญหาขึ้นได้อีก
8. Cost ค่าใช้จ่าย ระบบกล้อง Network Camera
นั้นสามารถใช้งานร่วมกับระบบเครือข่ายที่มีอยู่ได้ทันที ซึ่งโดยปกติแล้ว หากเป็นอาคารสำนักงานต่างๆ ก็จำเป็นจะต้องมีระบบเครือข่ายใช้งานภายในอยู่แล้ว หรือหากต้องมีการติดตั้งใหม่นั้น โดยเฉลี่ยแล้วค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแบบเดินสาย UTP นั้นจะถูกกว่า การติดตั้งหรือเดินสายแบบ Coax อยู่ประมาณ 20-30% นอกจากนั้นปัจจุบันราคาของอุปกรณ์ Network รวมถึงราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ยังมีราคาลดลงจากเมื่อก่อนมาก อีกทั้งการติดตั้งระบบเครือข่ายใหม่ นอกจากจะสามารถใช้งานระบบกล้อง Network Camera แล้วยังสามารถใช้งาน Application อื่นๆ ได้ด้วย ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในปัจจุบันไม่ได้สูงกว่าระบบ Analog แบบเก่า
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้ใช้จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันกล้อง Network Camera ค่อนข้างจะมีประสิทธิ และประโยชน์ในการใช้งานที่หลากหลายกว่าระบบ Analog ไม่ว่าจะเป็นตัวกล้องเอง หรือระบบในการใช้งานเอง รวมถึงความยากง่ายในการติดตั้ง เคลื่อนย้าย ก็ตาม ที่สำคัญ ค่าใช้จ่ายต่างๆ นั้นก็ใกล้เคียงกับระบบ Analog แบบเก่า แต่ให้ประโยชน์การใช้งานที่มากกว่าจึงเป็นทางเลือกใหม่ที่ดีกว่าในการเลือกใช้ระบบกล้องที่เป็นแบบ Network Camera