สาระน่ารู้

7 สาเหตุที่ทำให้ Wi-Fi ของคุณช้า

เคยสังเกตกันไหม! หลายต่อหลายครั้งที่อยู่ๆ การเชื่อมต่อ Wi-Fi ของเราที่ใช้อยู่ดีๆ ก็เกิดมีปัญหาขึ้นมา สัญญาณขาดๆ หายๆ บ้าง

โดยที่เราหาสาเหตุที่แท้จริงไม่พบ วันนี้เรามีหลากหลายวิธีที่คุณสามารถทำเพื่อเรียกสัญญาณ Wi-Fi ให้กลับมาเป็นปกติดังเดิม มาแนะนำกัน

 

 

1. Wi-Fi มีระยะ และกำลังส่งที่ไม่เพียงพอ

ปัญหาเครือข่าย Wi-Fi มีระยะ และกำลังส่งที่ไม่เพียงพอ เป็นปัญหาที่พบไปบ่อยครั้ง เนื่องจาก Access Point ของเครือข่ายไร้สายแต่ละตัวนั้นมีบริเวณ

ครอบคลุมสัญญาณที่จำกัด ดังนั้นถ้าคุณเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในจุดที่อยู่นอกเหนือขอบเขตสัญญาณแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าการเชื่อมต่อ Wi-Fi จะเริ่มติดๆ ดับๆ

 

ดังนั้น ทำให้มั่นใจว่าคุณไม่ได้นำเราท์เตอร์ไปไว้ในซอกหลืบของตู้เสื้อผ้า ไว้ตรงมุมห้องใต้ดิน หรือไว้ห่างจากห้องที่ใช้งานหลายห้อง

และเสริมความแข็งแกร่งของสัญญาณ Wi-Fi ด้วยการอัพเกรดเสาอากาศของตัว Access Point หรือไม่ก็บนคอมพิวเตอร์ของคุณ

 

2. คลื่นวิทยุรบกวนความถี่

ในปัจจุบัน มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลากหลายชนิดอยู่รอบตัวเรา สามารถส่งคลื่นวิทยุออกมารบกวนสัญญาณเครือข่าย Wi-Fi ได้ ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์ไร้สาย,

อุปกรณ์บลูทูช, รีโมทเปิดประตูโรงรถ, หรือแม้แต่เตาไมโครเวฟ ดังนั้น คุณต้องคอยสังเกตตัวเองอยู่เสมอ เมื่อคุณอยู่ภายในห้องครัว หากพบว่าสัญญาณ Wi-Fi ตกลง

ลองเคลื่อนย้ายตัวเองห่างออกจากเตาไมโครเวฟ ปิด หรือหยุดการใช้งานมัน เมื่อคุณต้องการใช้โทรศัพท์, แล็ปท็อป, หรืออุปกรณ์อื่น

 

3. เครือข่ายเกิด Overload

สาเหตุต่อมาที่ควรระวังคือ เรื่องของเครือข่ายรับภาระหนักเกินไปหรือ Overload โดยปกติถ้าหากมีอุปกรณ์มาเชื่อมต่อบนเครือข่ายเดียวกันมากเกินไป

แบนด์วิธที่แต่ละอุปกรณ์จะได้รับก็จะยิ่งโดนจำกัดตามไปด้วย แน่นอนว่าหากอุปกรณ์ไม่มีแบนด์วิธเหลือ วิดีโอที่เล่นอยู่ก็จะหยุดเล่น, เว็บไซต์เปิดไม่ขึ้น, และอุปกรณ์อาจจะโดนตัดการเชื่อมต่อไปเลย

 

คุณอาจทดสอบความเร็วเน็ตดู เพื่อตรวจว่าตัวเองได้ความเร็วตามที่จ่ายเงินให้ ISP หรือไม่ ซึ่งการเชื่อมต่ออุปกรณ์จำนวนมากเกินไปพร้อมกันจะสร้างปัญหาให้กับทั้งโมเด็ม

และเราท์เตอร์ ดังนั้น ให้ลองนำอุปกรณ์บางตัวออกจากเครือข่าย เช่น ถ้าทีวีกำลังสตรีมมิ่งอยู่ ก็ลองปิด เพื่อให้แบนด์วิธเหลือเพิ่มขึ้น เป็นต้น แต่ถ้าเครือข่ายนั้นยังช้าอยู่ดี

ให้ลองรีสตาร์ทเราท์เตอร์ใหม่ เพราะบางครั้งหน่วยความจำของเราท์เตอร์อาจจะเต็ม จนต้องล้างข้อมูลทิ้งสักครั้งเพื่อให้กลับมาทำงานได้ปกติ

 

 

 

4. เลือกใช้เครือข่าย Wi-Fi ผิด

ในบางครั้งคุณอาจจะเลือกใช้เครือข่าย Wi-Fi ผิด โดยเฉพาะถ้าทั้งสองตำแหน่งที่ตั้งเปิดเครือข่าย Wi-Fi เป็นแบบอัตโนมัติ

แถมยังใช้ชื่อเครือข่ายหรือ SSID เดียวกัน ก็อาจทำให้อุปกรณ์ของคุณเชื่อมต่อผิดเครือข่ายโดยไม่ทันรู้ตัวก็ได้

 

5. เฟิร์มแวร์ยังไม่ถูกอัพเดท

คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย Wi-Fi จำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์ขนาดเล็กที่เรียกว่าไดรเวอร์ และในส่วนของเราท์เตอร์ประจำเครือข่ายที่ใช้งานนั้น

ก็ต้องใช้เทคโนโลยีคล้ายกันที่เรียกว่าเฟิร์มแวร์เช่นกัน ดังนั้นระวังว่าเราอาจไม่ได้อัพเดทหรือติดตั้งเฟิร์มแวร์บางตัวที่ควรไป

 

6. ซอฟต์แวร์บางอย่างทำงานไม่เข้ากัน

การเชื่อมต่อ Wi-Fi บนคอมพิวเตอร์ในบางครั้ง อาจเกิดความล้มเหลวขึ้นได้ ถ้าหากมีซอฟต์แวร์ที่เข้ากันไม่ได้ติดตั้งอยู่ภายในเครื่อง

แม้ว่าสาเหตุนี้จะเป็นสาเหตุลำดับท้ายๆ ของปัญหาการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แต่ก็อาจจะเกิดขึ้นได้กับคุณ

 

7. ถึงเวลาเปลี่ยนเราท์เตอร์ของคุณเอง

ถ้าเกิดวิธีทั้งหมดข้างต้นยังไม่สามารถแก้ไขได้ สุดท้ายอาจเป็นปัญหาที่เราท์เตอร์ของคุณเอง ให้ลองติดต่อผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สาย

หรือ ISP ที่ให้เราท์เตอร์นี้มา ขอให้เขาเปลี่ยนเราท์เตอร์ให้ หรืออาจจะลงทุนซื้อใหม่เองก็ได้

 

 

 

 

ระยะ wifi ที่เหมาะสม ตัวช่วยให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตราบรื่นไม่สะดุด

 

ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านระบบ wifi ภายในบ้านที่อยู่อาศัยหรือภายในอาคาร ต่างก็จะรู้ดีถึงปัญหาเรื่องของสัญญาณและระยะ wifi ที่ทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานต่าง ๆ

ทั้งสัญญาณไม่นิ่ง ความเร็วตก หรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้ หรือหลุด ๆ ติด ๆ ปัญหาทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งนั้นจะเกิดขึ้นมาจากการติดตั้งและจุดในการรับส่งสัญญาณ

wifi ภายในบ้านมีปัญหา ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำแต่สามารถแก้ไขได้หากเราเข้าใจถึงเรื่องของระยะในการติดตั้ง wifi

 

 

ทำความเข้าใจรูปแบบการปล่อยสัญญาณ เพื่อช่วยในการกำหนดระยะ wifi ได้


อุปกรณ์กระจายสัญญาณ wifi ที่ติดตั้งภายในรวมถึงภายนอกอาคาร จะมีรูปแบบการทำงานและปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตเหมือนกัน

นั่นคือลักษณะของการปล่อยจะเป็นรัศมีวงกลม และมีระยะ wifi ตามแต่ละกำลังการส่งของอุปกรณ์และเครือข่ายตามประเภทความเร็วที่เลือกใช้

ด้วยรัศมีและระยะการส่งสัญญาณที่เป็นคลื่นแบบวงกลมจะช่วยให้เรากำหนดจุดติดตั้งและระยะที่เหมาะสมของ wifi ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่นว่าหากเราต้องการติดตั้ง wifi เพื่อให้สามารถใช้งานได้ทั่วทั้งบ้าน ก็ให้ดูว่าตัวอุปกรณ์รับส่งสัญญาณมีรัศมีอยู่ที่เท่าไร

จากนั้นก็เลือกติดตั้งให้ระยะ wifi ครอบคลุมที่จุดกลางบ้าน แต่หากว่าพื้นที่ที่ต้องการใช้งานมีระยะที่ค่อนข้างไกลก็ควรที่จะเลือกติดตั้งที่จุดหนึ่ง

แล้วเพิ่มอุปกรณ์ขยายสัญญาณเพิ่มอีกสักจุด ก็จะช่วยให้รัศมีการปล่อยสัญญาณครอบคุลมและราบรื่นขึ้นได้

 

 

เทคนิคการจัดระยะ wifi ที่เหมาะสมช่วยเพิ่มคุณภาพสัญญาณ


ไม่ทุกครั้งที่เราจะสามารถเลือกจุดติดตั้งหรือระยะ wifi ในการวางตัวส่งสัญญาณ wifi ได้เองทั้งหมด และส่วนใหญ่ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตก็จะเป็นอย่างนั้น

เพราะปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับการเลือกจุดติดตั้งนั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเดินสายสัญญาณ จุดติดตั้งที่ปลอดภัย เหมาะสม และหลายครั้งที่อุปกรณ์รับส่งสัญญาณ

ก็มักจะไปอยู่ในจุดอับ หลังกำแพง วิธีแก้ด้วยเทคนิคแรกคือการควบคุมทิศทางของสัญญาณให้ปล่อยไปยังจุดที่ต้องการด้วยอุปกรณ์บังคับทิศทาง


รวมไปถึงการเลือกช่องสัญญาณที่เหมาะสม จะส่งผลให้ระยะการปล่อย wifi ทำงานได้ดีขึ้นได้ เราสามารถตั้งค่า Channel ที่เหมาะสมได้

เทคนิควิธีการก็คือให้ไล่เลือกช่องสัญญาณและทดสอบความแรงผ่าน Application ไปเรื่อย ๆ จนครบทุก Channel และดูว่าช่องสัญญาณไหนที่มีความแรงและเสถียรมากที่สุด



และที่สำคัญอีกข้อก็คือการเลือกระยะ wifi ที่เหมาะสมด้วยการดูจากพื้นที่ในการใช้งาน ว่าภายในบ้านหรืออาคารส่วนใหญ่แล้วเรามักจะเลือก

ไปนั่งใช้งานอินเทอร์เน็ตที่จุดไหนเป็นหลัก ก็จะช่วยให้สามารถเลือกระยะที่สนับสนุนการทำงานได้ดีมากขึ้นด้วย

 

 

 ขอบคุณข้อมูลจาก enterpriseitpro

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
*********************************************************************

 

 

 

 

ประกาศ