สาระน่ารู้

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับโดรนอาจผิด "กฎหมาย" ถ้าไม่รู้สิ่งนี้

 

 

         ซื้อโดรนมาใหม่ ไม่ได้หมายความว่าคุณจะสามารถบินโดรนได้ทันที เพราะสิ่งสำคัญที่เจ้าของโดรนจะต้องทำก่อนอื่นคือ "ขึ้นทะเบียนโดรน"

ให้เรียบร้อยก่อนถึงจะสามารถใช้งานโดรนได้ ซึ่งขั้นตอนขึ้นทะเบียนโดรน ต้องทำอย่างไร ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง วันนี้ AllWeb มีข้อมูลมาแนะนำให้รู้กัน

 

 

ขึ้นทะเบียนโดรน มีขั้นตอนอย่างไร ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

       

          การขอขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานโดรนต้องติดต่อหน่วยงานใดบ้าง


1. ต้องขอขึ้นทะเบียน ทั้ง 2 หน่วยงาน คือ CAAT และ กสทช.

2. โดยการขึ้นทะเบียนกับ CAAT เป็นการขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานโดรนส่วน การขึ้นทะเบียนกับ กสทช. เป็นการขึ้นทะเบียนขออนุญาตใช้คลื่นความถี่

3. แม้จะลงทะเบียนขอนุญาตใช้คลื่นความถี่โดรนกับ กสทช. แล้วก็ยังไม่สามารถบินโดรนได้ต้องขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานโดรน กับ CAAT ด้วยจึงจะได้รับหนังสือการขึ้นทะเบียน

ผู้บังคับอากาศยานโดรนเสมือนการทำใบขับขี่โดรนจาก CAAT ถึงจะสามารถบินโดรนได้

 

 

 

 

 

         หน่วยงานสังกัดราชการทหาร ราชการตำรวจ ราชการศุลกากร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้บังคับ

หรือปล่อยอากาศยานประเภทที่ควบคุมการบินจากภายนอก (Drone) เนื่องจากได้มีการกำหนดให้หน่วยงานดังกล่าวข้างต้นไม่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัดิการเดินอากาศ พ.ศ 2497

ดามมาตรา 5 ประกอบกฎกระทรวงกำหนดราชการอื่นที่ไม่อยู่ภายใด้บังคับพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ 2497

 

 

โดรนแบบไหนบ้างที่ต้องขึ้นทะเบียน

 

1. ติดตั้งกล้องบันทึกภาพต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี

2. น้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี ทั้งนี้ไม่ติดตั้งกล้องบันทึกภาพและน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัมไม่ต้องขึ้นทะเบียน

3. โดรนที่มีน้ำหนักเกินกว่า 25 กิโลกรัมขึ้นไป (ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

 

 

หนังสือการขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานโดรนมีอายุกี่ปี

หนังสือการขึ้นทะเบียนโดรนมีอายุ 2 ปี ตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ

 

บทลงโทษถ้าไม่ได้ขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานโดรน

บทลงโทษ ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 มาตรา 24 ประมวล มาตรา 78ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

แหล่งที่มารูปภาพ https://uav.caat.or.th/faq.php

 

 

การขอขึ้นทะเบียนครอบครองโดรน ที่สำนักงาน กสทช ด้วยตนเอง

 

เอกสารขึ้นทะเบียนผู้ครอบครองโดรน (กรณีบุคคลธรรมดา)

- บัตรประจำตัวประชาชน ผู้ครอบครอง (ตัวจริง)

- รูปถ่ายหมายเลขเครื่องโดรน (Serial Number)

- รูปถ่ายหมายเลขรีโมทคอนโทรล (Serial Number)

- รูปถ่ายโดรน 6 ด้าน (ด้านหน้า/ด้านซ้าย/ด้านขวา/ด้านหลัง/ด้านบน/ด้านใต้)

- กรอกแบบฟอร์ม (แบบ คท.30)

*กรณีมอบอำนาจ กรอกแบบฟอร์ม (แบบ คท.26) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท

*ผู้รับมอบอำนาจ ต้องนำบัตรประชาชน (ตัวจริง) ผู้มอบอำนาจมาด้วย

 

 

 

เอกสารขึ้นทะเบียนผู้ครอบครองโดรน (กรณีนิติบุคคล)

- บัตรประจำตัวประชาชน กรรมการบริษัทผู้ครอบครอง (ตัวจริง)

- หนังสือรับรองนิติบุคคล ไม่เกิน 90 วัน (เซ็นรับรองและประทับตรา)

- รูปถ่ายหมายเลขเครื่องโดรน (Serial Number)

- รูปถ่ายหมายเลขรีโมทคอนโทรล (Serial Number)

- รูปถ่ายโดรน 6 ด้าน (ด้านหน้า/ด้านซ้าย/ด้านขวา/ด้านหลัง/ด้านบน/ด้านใต้)

- กรอกแบบฟอร์ม (แบบ คท.30)

*กรณีมอบอำนาจ กรอกแบบฟอร์ม (แบบ คท.26) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท

*ผู้รับมอบอำนาจ ต้องนำบัตรประชาชน (ตัวจริง) ผู้มอบอำนาจมาด้วย

 

ปริ้นแบบฟอร์ม คท.30 ได้ที่ https://bit.ly/3hn5elu

ปริ้นแบบฟอร์ม คท.26 (มอบอำนาจ) ได้ที่ https://bit.ly/3hjMRhg

 

 

 

เงื่อนไขก่อนทำการบิน


1. ให้ตรวจสอบว่าอากาศยานอยู่ในสภาพที่สามารถทำการบินได้อย่างปลอดภัยซึ่งรวมถึงตัวอากาศยานและระบบควบคุมอากาศยาน

2. ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ที่จะทำการบิน

3. ให้ทำการศึกษาพื้นที่และชั้นของห้วงอากาศที่จะทำการบิน

4. ต้องมีแผนฉุกเฉิน รวมถึงแผนสำหรับกรณีเกิดอุบัติเหตุ การรักษาพยาบาล และการแก้ปัญหากรณีไม่สามารถบังคับอากาศยานได้

5. ต้องมีการบำรุงรักษาตามคู่มือของผู้ผลิต

6. ต้องมีความรู้ความชำนาญในการบังคับอากาศยานและระบบของอากาศยาน

7. ต้องมีความรู้ความเข้าใจในกฎจราจรทางอากาศ

8. ให้นำหนังสือการขึ้นทะเบียนผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยาน (ประเภทที่ควบคุมการบันจากภายนอก) ติดตัวไว้ตลอดเวลาที่ทำการบิน

9. ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงที่สามารถใช้งานได้ติดตัวตลอดเวลาที่ทำการบิน

10. ต้องมีการประกันภัยอากาศยานโดยรับผิดชอบต่อความเสียหายอันเกิดแก่ร่างกาย ชีวิตตลอดจนทรัพย์สินของบุคคลที่สาม

ในวงเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท/อุบัติเหตุ/ครั้ง และกรมธรรม์ประกันภัยต้องอยู่ติดกับหนังสือการขึ้นทะเบียนผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยาน

และต้องต่ออายุกรมธรรมล่วงหน้าก่อนวันสั้นอายุไม่น้อยกว่า 30 วัน

 

 

 

เงื่อนไขระหว่างทำการบิน


1. ห้ามทำการบินในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และรบกวนความสงบสุขของบุคคลอื่น

2. ห้ามทำการบินเข้าไปในบริวณเขตหวงห้าม เขตกำกัด และเขตอันตรายตามที่ประกาศในเอกสารแถลงข่าวการบินของประเทศไทย

(Aeronautical Information Publication - Thailand หรือ AIP - Thailand) รวมทั้งสถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล

เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่

3. แนวการบินขึ้นลงของอากาศยานจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง

4. ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องสามารถมองเห็นอากาศยานได้ตลอดเวลาที่ทำการบินและห้ามทำการบังคับ อากาศยาน โดยอาศัย

ชุดกล้องบนอากาศยานหรืออุปกรณ์อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียง

5. ต้องทำการบินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ซึ่งสามารถมองเห็นอากาศยานได้อย่างชัดเจน

6. ห้ามทำการบินเข้าไกล้หรือเข้าไปในเมฆ

7. ห้ามทำการบินภายในระยะ 9 กิโลเมตร (5 ไมล์ทะเล) จากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจาก

เจ้าของหรือผู้ดำเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต

8. ห้ามทำการบินโดยใช้ความสูงเกิน 90 เมตร (300 ฟุต) เหนือพื้นดิน

9. ห้ามทำการบินเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่

10. ห้ามบังคับอากาศยานเข้าใกล้อากาศยานซึ่งมีนักบิน

11. ห้ามทำการบินละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น

12. ห้ามทำการบินโดยก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความรำคาญแก่ผู้อื่น

13. ห้ามส่งหรือพาวัตถุอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวงหรืออุปกรณ์ปล่อยแสงเลเซอร์ติดไปกับอากาศยาน

14. ห้ามทำการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง อาคาร ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการบินน้อยกว่า 30 เมตร

(100 เมตร) ในกรณีอากาศยานที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม และ 50 เมตร (150 ฟุต) ในกรณีอากาศยานที่มีน้ำหนักเกินกว่า 2 กิโลกรัม

แต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม

15. เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นแก่อากาศยานให้ผู้บังคับหรีอปล่อยอากาศยานแจ้งอุบัติเหตุนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่ชักช้า

(ในเวลาราชการ โทร 02 568 8800 ต่อ 1504, 1505 โทรสาร 02 568 8848 นอกเวลาราชการ 081 839 2068 หรือ email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.)

 

 

 

พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497

 

มาตรา 24 "ห้ามมิให้ผู้ใดบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน หรือทิ้งร่มอากาศนอกจากได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรี

และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด"

 

มาตรา 78 "ผู้ใดบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีตามมาตรา 24 

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

 

มาตรา 80 "ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามประกาศกระทรวงคมนาคมเรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไข

ในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2558 

ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท"

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประกาศ